วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 11 เรื่อง กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ


ใบงานที่ 11 เรื่อง กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
--------------------------------------------------------------
ให้นักเรียนเรียงลำดับขั้นตอนการทำงาน จากกิจกรรมที่กำหนดให้ต่อไปนี้  

1. การสำรวจสภาพน้ำที่คูเมือง
        ขั้นที่ 1   เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในสำรวจ ได้แก่
ตัวชี้วัด
วิธีการตรวจวัดที่แนะนำ
ลักษณะทางกายภาพ เช่น สี กลิ่น
สังเกต
แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม
ชุดทดสอบ ว.111 ของกรมอนามัย
ความขุ่น/ความโปร่งแสง
Secchi Disc
อุณหภูมิ
เทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะ
ความเป็นกรด-ด่าง
กระดาษลิตมัส (วิธีเปรียบเทียบสี)
ความนำไฟฟ้า/สารที่ละลายได้ทั้งหมด
Electrical Conductivity
ความเค็ม
Hydrometer
ออกซิเจนละลาย
ชุดทดสอบออกซิเจนละลาย (ว.312)ของกรมอนามัย
ฟอสฟอรัส
ชุดทดสอบ (Test Kits) (วิธีเปรียบเทียบสี)
ไนเตรท
ชุดทดสอบ (Test Kits) (วิธีเปรียบเทียบสี)
โลหะหนัก
ชุดทดสอบ (Test Kits) (วิธีเปรียบเทียบสี)

        ขั้นที่ 2   เดินทางไปที่คูเมือง ตำแหน่งที่ 1 ด้านทิศเหนือด้วยรถจักรยานพร้อมเครื่องมือสำรวจเพื่อลดปัญหามลภาวะทางอากาศ
            ขั้นที่ 3    สังเกตสีของน้ำจากแหล่งน้ำโดยตรง หรือตักน้ำขึ้นมาอย่างน้อย 2 ลิตร โดยตักลึกลงไปประมาณครึ่งหนึ่งของความลึก นำขึ้นมาใส่ขวดแก้วใสแล้วจึงสังเกตสี โดยสีที่เกิดขึ้นของน้ำเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดสีได้อย่างคร่าวๆ ดังแสดงในตารางด้านล่าง อย่างไรก็ตามถึง แม้ว่าน้ำจะใสไม่มีสี ก็ไม่อาจรับรองได้ว่าแหล่งน้ำนั้นมีคุณภาพดีไม่มีการปนเปื้อนเลย ควรจะมีการติดตามตรวจสอบต่อไป

สีปรากฏ
สาเหตุที่ทำให้เกิดส
ไม่มีสี
ยังไม่ควรสรุปว่าน้ำสะอาดเพราะอาจมีสิ่งเจือปนอยู่
สีเขียว
แพลงค์ตอนพืช
สีเหลืองหรือสีน้ำตาลหรือสีชาใส
มีซากพืชย่อยสลาย
สีแดงหรือสีเหลืองหรือ สีมะฮอกกานี
เป็นสีของสาหร่ายอีกจำพวกหนึ่ง (dinoflagellates)
สีน้ำตาลขุ่นหรือสีแดง
มีตะกอนดินเจือปน อาจเกิดจากการกัดเซาะหน้าดิน หรือชายฝั่ง
สีรุ้ง
มีคราบน้ำมันที่ผิวหน้า
สีเทาหรือสีดำ
น้ำเน่าจากสิ่งปฏิกูล หรืออาจมีแร่ธาตุจากธรรมชาติเจือปน
การตรวจวัดคุณภาพน้ำทางชีวภาพ 

             การตรวจวัดคุณภาพน้ำนอกจากจะใช้ตัวชี้วัดทางกายภาพ เคมี และแบคทีเรียในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำแล้ว ยังสามารถใช้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้น เช่น แพลงค์ตอนพืช แพลงค์ตอนสัตว์ สาหร่ายขนาดใหญ่ สัตว์หน้าดิน พืชน้ำ 
และปลา เป็นต้น เป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำร่วมได้อีกทางหนึ่ง

สัตว์หน้าดิน

             เนื่องจากสัตว์หน้าดินมีความหลากหลายและแพร่กระจายในบริเวณกว้าง สามารถเคลื่อนที่ได้น้อย และไวต่อการถูกรบกวน ดังนั้นจึงได้รับผลกระทบโดยตรงจากมลพิษ และแม้เวลาผ่านไปก็ยังตรวจสอบผลกระทบที่มีต่อแหล่งน้ำบริเวณนั้นๆ ได้ เนื่องจากสัตว์หน้าดินสามารถฟื้นตัวได้ช้า นอกจากนี้แล้วยังมีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากเป็นผู้ผลิตหรือผู้บริโภคในระดับต้นๆ จึงมีผลต่อความชุกชุมของผู้บริโภค
ในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นชนิดและจำนวนของสัตว์หน้าดิน จึงสามารถนำมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพแหล่งน้ำได้   
สามารถแบ่งชนิดของสัตว์หน้าดินที่พบกับคุณภาพน้ำได้ 4 ระดับ คือ

คุณภาพน้ำดีมาก  สัตว์ที่พบมากสุดได้แก่ตัวอ่อนแมลงชีปะขาวและตัวอ่อนแมลงเกาะหิน
        

      แมลงชีปะขาว            แมลงเกาะหิน
 คุณภาพน้ำดี สัตว์ที่พบมากสุด ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ

   แมลงหนอนปลอกน้ำ 

 คุณภาพน้ำปานกลาง สัตว์ที่พบมากสุด ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงปอ กุ้งและปูน้ำจืด

   
        แมลงปอ                     ปู                              
 คุณภาพน้ำไม่ดี สัตว์ที่พบมากสุด ได้แก่ หนอนแดง ไส้เดือนน้ำจืด

      หนอนแดง                ไส้เดือนน้ำจืด 

2. การทำร่มกระดาษสาที่บ่อสร้าง
        ขั้นที่ 1   เดินทางไปยังอ.สันกำแพง ศูนย์ทำร่มบ่อสร้าง
        ขั้นที่ 2   ศึกษาวิธีการทำจากผู้รู้
        ขั้นที่ 3   ลงมือปฏิบัติและจดบันทึก

3. การทำอาหารพื้นบ้านล้านนา
        ขั้นที่ 1   เดินทางไปหาผู้มีความรู้ทางด้านการทำอาหารพื้นบ้านล้านนา
        ขั้นที่ 2   เตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการทำ
        ขั้นที่ 3   ลงมือปฏิบัติและจดบันทึกประสบการณ์การเรียนรู้





ที่มา : http://www.phetchaburi-mnre.org/phet-mnre/index.php?option=com_content&view=article&id=56:2011-10-20-06-24-23&catid=35:2011-10-19-05-58-25&Itemid=30 และ http://www.google.co.th/imgres?um=1&hl=th&sa=G&biw=1440&bih=785&tbm=isch&tbnid=LAvJ1R7HkRZrDM:&imgrefurl=http://www.oknation.net/blog/numsunjon/2009/05/13/entry-1&docid=-AkcybK7DvZZjM&imgurl=http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/144/19144/images/DSC03878.jpg&w=450&h=338&ei=w25NUKfEM8rWrQf_toGQCQ&zoom=1&iact=hc&vpx=817&vpy=152&dur=445&hovh=194&hovw=259&tx=130&ty=105&sig=118385330368808484650&page=1&tbnh=140&tbnw=171&start=0&ndsp=27&ved=1t:429,r:4,s:0,i:84

ใบงานที่ 10 เรื่อง คิดวิเคราะห์สร้างทางเลือก และเกณฑ์ที่ใช้


ใบงานที่ 10 เรื่อง คิดวิเคราะห์สร้างทางเลือก และเกณฑ์ที่ใช้
--------------------------------------------------------------
ให้นักเรียนสร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย โดยเลือกวิธีที่ทำกิจกรรมที่กำหนดให้ต่อไปนี้

ให้นักเรียนเลือกกระบวนการหรือกิจกรรมที่ต้องน่าจะทำได้ เมื่อทำกิจกรรมต่อไปนี้
1. ปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่บ้าน
        วิธีที่ 1 ปลูกในกระถางดินเผา
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้  เพื่อปลูกไม้ดอกที่มีเมล็ดพันธุ์ขนาดเล็กมาก เช่น ลิ้นมังกร โบรวาเลีย คาลซิโอลาเลีย
        วิธีที่ 2  ปลูกในกระบะไม้
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เพื่อปลูกไม้ดอกที่มีเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวเรือง บานชื่น ทานตะวัน ดาวกระจาย
        วิธีที่ 3  ปลูกในร่องสวน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เพื่อปลูกไม้ยืนต้น เช่น มะพร้าว มะม่วง
        วิธีที่ 4  ปลูกพื้นที่ข้างบ้าน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เพื่อปลูกพืชตระกูลหมากเพราะด้านล่างโปร่งลมพัดผ่านได้ ด้านบนสามารถบังแดดได้ เช่น หมากเขียว

        2. เก็บอาหารให้อยู่ได้นาน ๆ
        วิธีที่ 1  ดองเค็ม
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เกลือให้รสชาติและช่วยควบคุมการ เติบโตของจุลินทรีย์ในการดองผัก เช่น     กะหล่ำปลี
        วิธีที่ 2  กวน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ใช้กับผลไม้เพื่อให้มีรสหวานและเข้มข้นขึ้น
        วิธีที่ 3  ตากแห้ง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ หยุดปฏิกิริยาเอนไซม์และลดปริมาณแบคทีเรียที่มีอยู่ 
        วิธีที่ 4  เชื่อม
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เมื่อจะเก็บผลไม้บรรจุขวดหรือกระป๋อง เช่น มันเชื่อม

        3. ตกแต่งห้องเรียนให้สวยงาม
        วิธีที่ 1 บริเวณหน้าห้องเรียน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ สะอาดและมีรูปภาพของสมาชิกในห้องเรียน
        วิธีที่ 2  หลังห้องเรียน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ไม่รกรุงรังและมีบอร์ดความรู้ตามเทศกาล
        วิธีที่ 3  หน้าต่างห้องเรียน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เลือกใช้ผ้าม่านที่ระบายอากาศและมีสีสบายตา
        วิธีที่ 4 ฝาผนังห้องเรียน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ไม่มีการขีดเขียน


4. ยานพาหนะในการเดินทาง 
        วิธีที่ 1 เครื่องบิน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ต้องการความสะดวกรวดเร็วมาก
        วิธีที่ 2 รถยนต์
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ต้องการความเป็นส่วนตัว
        วิธีที่ 3  รถประจำทาง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ต้องการประหยัดเงินและพลังงานของโลก
        วิธีที่ 4  รถจักรยาน
                        เกณฑ์ที่เลือกใช้ ไม่เร่งรีบมากและไม่ต้องการก่อมลภาวะทางอากาศ


ใบงานที่ 9 เรื่อง ปัญหาและความจำเป็นในการทำโครงงาน



ใบงานที่ 9 เรื่อง ปัญหาและความจำเป็นในการทำโครงงาน
-----------------------------------------------------------------------------
ให้นักเรียนคิดหาคำตอบว่า เราทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อแก้ปัญหาอะไร ? ได้ประโยชน์อย่างไร ?

กิจกรรมต่อไปนี้ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาอะไร ? ได้ประโยชน์อย่างไร ?
1. ไปเที่ยวศูนย์การค้า  เพื่อแก้ปัญหา          การเกิดความเครียด ต้องการพักผ่อน และซื้อเครื่องใช้ประจำตัว
                                ได้ประโยชน์ คือ       เพื่อขจัดความเครียด ได้พักผ่อนและได้เครื่องใช้ประจำตัว

2. ทำความสะอาดบ้าน เพื่อแก้ปัญหา    บ้านสกปรกและการมีสุขอนามัยที่ดีของคนในครอบครัว
                                ได้ประโยชน์ คือ       บ้านสะอาดคนในครอบครัวมีสุขภาพดี

3. ดูทีวี                     เพื่อแก้ปัญหา          ไม่รู้ทันข่าวสารบ้านเมือง
                                ได้ประโยชน์ คือ       รู้ทันข่าวสารบ้านเมืองและเพื่อความบันเทิง

4. ซื้อจักรยานยนต์  เพื่อแก้ปัญหา          ความไม่สะดวกในการเดินทาง
                                ได้ประโยชน์ คือ       สามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็ว

5. ทำนา                   เพื่อแก้ปัญหา          ไม่มีข้าวที่ใช้ในการบริโภค
                                ได้ประโยชน์ คือ       มีข้าวเพื่อใช้ในการบริโภคและจำหน่าย

6. มาเรียนหนังสือ   เพื่อแก้ปัญหา          ไม่มีความรู้
                                ได้ประโยชน์ คือ       สามารถพัฒนาประเทศและช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น

7. ตั้งใจเรียน           เพื่อแก้ปัญหา          เรียนไม่รู้เรื่องและทำข้อสอบไม่ได้
                                ได้ประโยชน์ คือ       มีความรู้มีสมาธิและสามารถทำข้อสอบได้

8. เรียนภาษาอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหา       การสื่อสารกับชาวต่างชาติ
                                ได้ประโยชน์ คือ       สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้และมีอนาคตที่ดีขึ้น

9. เรียนคอมพิวเตอร์  เพื่อแก้ปัญหา       ความด้อยพัฒนาทางเทคโนโลยี
                                ได้ประโยชน์ คือ       รู้ทันเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากมัน

10. สมัครงาน          เพื่อแก้ปัญหา          ไม่มีรายได้
                                ได้ประโยชน์ คือ       มีรายได้





ที่มา : นางสาวรัตนกานต์  กาญจนพันธุ์บุญ และ นางสาวสุชานาถ  จิตหัตถะ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3

ที่มารูปภาพ : http://rialive.files.wordpress.com/2011/05/kid-reading-book.jpg

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”

 โครงงานประเภทการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อความรู้ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมารุก  โปรแกรม ต่อให้เพิ่ม เติมให้เต็ม (Magic Puzzle)  โปรแกรม เกมผู้รอดชีวิต โปรแกรมเกมทศกัณฑ์ เกมทายคำศัพท์ และเกมการคำนวณเลข เป็นต้น ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกความคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ
เช่น

1. โปรแกรม ต่อให้เพิ่ม เติมให้เต็ม (Magic Puzzle)

2. โปรแกรม เกมผู้รอดชีวิต


3. โปรแกรมเกมทศกัณฑ์


4. โปรแกรมรองเท้าอาถรรพ์


5. เกมผจญภัยกับพระอภัยมณี


6. เกมอักษรเขาวงกต


7. เกมเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


8. เกมผจญภัยกับภาษาอังกฤษ


9. เกมหมากฮอส


10. เกมบวกลบเลขแสนสนุก


11. เกมศึกรามเกียรติ์


12. เกมมวยไทย


ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/17030?page=0%2C7  และ  http://krumewstp.wordpress.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1/

ใบงานที่ 7 เรื่อง โครงงานประเภท “การประยุกต์ใช้งาน”

โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวันอาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โปรแกรมระบบงานการกีฬา โปรแกรมระบบแฟ้มฐานข้อมูลผู้เรียน 2001
เช่น

1. โปรแกรม สารบรรณสำเร็จรูป : Readymade Archivist


2. โปรแกรมระบบฐานข้อมูลทางการแพทย์เบื้องต้น


3. โปรแกรมระบบแฟ้มฐานข้อมูลผู้เรียน 2001


4. เครื่องรดน้ำต้นไม้และให้อาหารปลาผ่านโทรศัพท์มือถือ


5. เครื่องให้อาหารไก่ไข่อัตโนมัติ


6. ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้เรียนของโรงเรียน


7. ระบบจัดการข้อมูลการเงินส่วนบุคคล


8. ระบบจองตั๋วรถไฟบนอินเทอร์เน็ต


9. ระบบแนะนำเส้นทางเดินรถประจำทาง


10. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงสำหรับคนตาบอดบนรถประจำทาง


11. โปรแกรมออกและตรวจข้อสอบ


12. โฮมเพจส่วนบุคคล


13. โปรแกรมช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น


14. โปรแกรมพจนานุกรมไทย-อังกฤษ




ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/17030?page=0%2C7 และ http://krumewstp.wordpress.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1/

ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”

โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งารจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น

1. การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเลี้ยงปลานิลด้วยคอมพิวเตอร์

2. การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเพาะปลูกแก้วมังกรด้วยคอมพิวเตอร์


3. การทดลองผสมสารเคมีต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์


4. ปัจจัยต่างๆ กับการเคลื่อนที่ของเครื่องบิน


5. ผลการปลูกข้าวในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน


6. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดเบื้องต้น


7. โปรแกรมจำลองการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล





โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดเบื้องต้น



ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/17030?page=0%2C7  และ http://krumewstp.wordpress.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1/